top of page

การขนส่งทางน้ำ

กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี หรือกรมเจ้าท่าเดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจที่สอดประสานไปกับกระแสการพัฒนาประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการส่งเสริมการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ และการพาณิชย์นาวีให้เชื่อมต่อกับระบบการขนส่งอื่นๆ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า มีการส่งเสริมและพัฒนาท่าเรือ อู่ต่อเรือ กองเรือไทย และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัยและรวมไปถึงการสนับสนุนภาคการส่งออกของประเทศไทยให้มีความเข็มแข็งเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ

การขนส่งทางน้ำ

 การขนส่งทางลำน้ำเป็นระบบการขนส่งที่มีต้นทุนต่อหน่วยบรรทุกต่ำสามารถขนส่งได้คราวละมาก ๆ แต่ใช้เวลาขนส่งมากกว่าการขนส่งรูป                                           แบบอื่น และไม่สามารถขนส่งแบบ                                                  door-to-door มักใช้เรือท้อง                                                      แบน (Barge) ในการขนส่ง                                                เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องความลึก                                              ของน้ำและความกว้างของแม่น้ำ                                                                การขนส่งทางลำน้ำ                                                      จำเป็นต้องมีคลังสินค้าหรือ                                                  ลานพักสินค้าเพื่อรวบรวมและ                                                     แยกสินค้าก่อนขึ้นและหลัง                                               จากสินค้าลงจากเรือ ซึ่ง                                                           ผลิตภัณฑ์ที่ขนส่งทางลำน้ำส่วน                                              ใหญ่เป็นสินค้ามูลค่าต่ำ ไม่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง และสามารถส่งได้คราวละมาก ๆ เช่น ดิน หิน ทราย ปูนซีเมนต์ ข้าว น้ำตาล แป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น

โครงข่ายการขนส่งสินค้าทางลำน้ำ

      การขนส่งทางลำน้ำประกอบด้วยการขนส่งระหว่างประเทศและการขนส่งภายในประเทศ เส้นทางที่ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ คือ แม่น้ำโขง เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ อันได้แก่ จีน พม่า ไทย  และลาว ดังแสดงในรูปที่ 1 ซึ่งแม่น้ำโขง (ส่วนที่อยู่ในจีนเรียกว่า แม่น้ำล้านช้าง) นี้ไหลผ่านเมืองสำคัญ เช่น ชิงไฮ่ (จีน) หลวงพระบาง (ลาว) เวียงจันทร์ (ลาว) นครพนม (ไทย) สุวรรณเขต (ลาว) ปากเซ (ลาว) และพนมเปญ (กัมพูชา) สำหรับเส้นทางที่ขนส่งสินค้าภายในประเทศ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน ดังแสดงในรูปที่ 2 ซึ่งช่วงของลำน้ำที่มักใช้ขนส่งสินค้าทางน้ำมีดังแสดงในตารางที่ 1

ข้อดีและข้อเสีย ของการขนส่งทางน้ำ

การขนส่งทางน้ำจะใช้เรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ขนส่งสินค้าได้ทีละมากๆ

ข้อดีการขนส่งทางน้ำ

1.ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ เพราะเรือมีขนาดใหญ่และใช่พลังงานขับเคลื่อนต่อน้ำหนักต่ำ

2.ขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ได้ สามารถรองรับสินค้าได้เกือบทุกชนิด

3.มีความปลอดภัยมากเพราะใช้ความเร็วต่ำ

ข้อเสียการขนส่งทางน้ำ

1.ใช้ระยะเวลายาวนาน

2.ต้องให้มีปริมาณมากเพียงพอ ไม่มีความคุ้มค่าหากต้องขนส่งทีละน้อย

3.ต้องมีการขนถ่ายซ้ำ โดยทั่วไปเรือไม่สามารถเข้าถึงจุดรับส่งสินค้าได้

4.ความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้าซ้ำ

กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี หรือกรมเจ้าท่าเดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจที่สอดประสานไปกับกระแสการพัฒนาประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการส่งเสริมการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ และการพาณิชย์นาวีให้เชื่อมต่อกับระบบการขนส่งอื่นๆ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า มีการส่งเสริมและพัฒนาท่าเรือ อู่ต่อเรือ กองเรือไทย และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัยและรวมไปถึงการสนับสนุนภาคการส่งออกของประเทศไทยให้มีความเข็มแข็งเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ

การขับเคลื่อนของทุกกลไกภายในองค์กรสอดประสานและโยงใยเข้าด้วยกัน เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจ และการดำเนินงานก้าวไปข้างหน้าโดยมีวิสัยทัศน์ที่ว่า ต้องพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งทางน้ำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ตลอดจนสนับสนุนให้มีการกระจายการขนส่งทางน้ำอย่างเหมาะสม และมีความเชื่อมโยงอันเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านการค้า และบริการนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและได้จัดแบ่งภารกิจตามกรอบแนวทางหลัก 4 ประการ คือ

 

  • ด้านการคมนาคมทางน้ำกับภารกิจในการขุดลอก บำรุงรักษาสภาพของแหล่งน้ำ สร้างเขื่อนป้องกันการพังทลายของตลิ่ง และป้องกันการกัดเซาะ ควบคุมดูแลยานพาหนะ ตรวจสภาพเรือและจดทะเบียนเรือ ควบคุมการจราจรทางน้ำ เพ่อความสะดวกและปลอดภัย การจัดสร้างอนุญาต ควบคุมและดูแลท่าเรือ การพัฒนา ดูแลการนำร่องในเขตท่าเรือต่างๆ

  • ด้านกิจการพาณิชย์นาวี มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางน้ำ เพื่อความปลอดภัย ประหยัด และลดต้นทุน การสนับสนุนด้านการประกอบกิจการท่าเรือ อู่ต่อเรือ และการขนส่งทางทะเล การผลิตบุคลากรด้านการพาณิชย์นาวีที่มีคุณภาพ

  • ด้านการสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ ในแม่น้ำสายสำคัญ และการท่องเที่ยวทางทะเล ด้วยการจัดสร้างท่าเรือ ณ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ พร้อมกับการควบคุมการบริการให้ได้มาตรฐานและปลอดภัย

  • และภารกิจด้านการรักษาสภาพแวดล้อมทางน้ำ มีการควบคุมดูแลการทิ้งของเสียลงสู่แม่น้ำและทะเล การควบคุมดูแลไม่ให้มีการบุกรุกหรือการก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ รวมไปถึงการกิจในการขจัดคราบน้ำมัน

 

กรมการขนส่งทางน้ำ
bottom of page